เมตาบอลิคซินโดรม หรือโรคอ้วนลงพุง
Metabolic syndrome
เมตาบอลิคซินโดรม หรือโรคอ้วนลงพุง
Metabolic syndrome
ศูนย์ผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนักโดยการส่องกล้อง
ให้บริการตรวจวินิจฉัย และรักษาด้วยอุปกรณ์การแพทย์ที่ทันสมัย
เมตาบอลิคซินโดรม (Metabolic syndrome)
คือกลุ่มความผิดปกติที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด ในอนาคตซึ่งพบร่วมกันได้บ่อย ความผิดปกติดังกล่าวได้แก่ความผิดปกติของ ไขมันในเลือด ความดันโลหิต ระดับน้ำตาล
เกณฑ์การวินิจฉัย
เมตาบอลิคซินโดรม (Metabolic syndrome) จะต้องมีความผิดปกติ ต่อไปนี้
1. จะต้องเป็นอ้วนชนิดลงพุง กล่าวคือมีเส้นรอบเอวมากกว่า 90 ซม. 80 ซม. ในชายและหญิงตามลำดับ หรือค่าดัชนีมวลกาย ( Body Mass Index : BMI ) > 25 (BMI = น้ำหนักตัว เป็นกิโลกรัม /ความสูงเป็นเมตรยกกำลัง 2) และมี ภาวะดังต่อไปนี้อย่างน้อย 2 ข้อ
2. ความดันโลหิต > 130/85 มม.ปรอท หรือรับประทานยาลดความดันโลหิตอยู่
3. ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด (Triglyceride) > 150 mg% หรือผู้ที่เป็นไขมันสูง และได้รับยาลดไขมัน
4. ระดับ เอช-ดี-แอล โคเลสเตอรอล ( HDL ) < 40 mg% ในผู้ชาย หรือ < 50 mg% ในผู้หญิง หรือผู้ที่เป็นไขมันสูงและได้รับยาลดไขมัน
5. ระดับน้ำตาลขณะอดอาหาร ( Fasting blood sugar ) สูงกว่า 100 mg% หรือผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 พบว่า ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง 3 ข้อ จะมีอัตราการเกิดโรคหัวใจเพิ่มขึ้น 2 เท่า และพบว่าผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง 4 ข้อจะมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือดสมองเพิ่ม 3 เท่า และเกิดโรคเบาหวานเพิ่ม 24 เท่า
การรักษาเมตาบอลิคซินโดรม
1. การควบคุมและหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหาร ที่มีไขมัน แป้งและน้ำตาลสูง และการออกกำลังกาย จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต ระดับไตรกลีเซอไรด์ลดลง และระดับเอช-ดี-แอล (LDL) โคเลสเตอรอล เพิ่มขึ้น
2. การออกกำลังกาย ควรจะทำทุกวัน อย่างน้อยวันละ 30 นาที ด้วยความแรงของการออกกำลังกายที่เหมาะสม
3. งดสูบบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
4. ควรพบแพทย์ เพื่อรับคำแนะนำ ในรายที่มีอัตราเสี่ยงสูงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ อาจได้รับการตรวจเพิ่มเติม เช่น การตรวจหาแคลเซี่ยมในหลอดเลือดหัวใจ (Calcium score) การทดสอบสมรรถภาพหัวใจ โดยการวิ่งสายพาน (Exercise stress test)
5. การรักษาโดยยา จะพิจารณาเป็นราย ๆ โดยอยู่ในดุลพินิจของแพทย์
ข้อมูลอัพเดท ณ วันที่ : 16 ตุลาคม 2566
|